On The Problems and Strategies of Multimedia Technology in English Teaching.

 สรุปบทความ On The Problems and Strategies of Multimedia Technology in English Teaching.

ปัญหาและทางแก้ไขในการใช้เทคโนโลยีสำหรับสอนภาษาอังกฤษ

1.วิเคราะห์ความจำเป็นของการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ
1.1 เพื่อสร้างความสนใจในการเรียนของเด็กๆ เนื่องจากสื่อและเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกถึงความสมจริง ทำให้สามารถดึงความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
1.2 เพื่อยกระดับการสื่อสารของผู้เรียน การสอนแบบดั้งเดิมนั้นจะเน้นให้นักเรียนพัฒนาทักษะทางด้านการฟังและการอ่าน ทำให้เด็กไม่สามารถบลุประสงค์ด้านการสื่อสารได้ แต่เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสื่อสารและคิดได้ดียิ่งขึ้นเพราะเทคโนโลยีในการสอนจะช่วยให้นักเรียนคิดบวกและฝึกสื่อสารในชีวิตจริงใด้
1.3 เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจวัฒนธรรมตะวันตกได้ดียิ่งขึ้น สื่อเทคโนโลยีสามารถนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้เรียนได้มากกว่าหนังสื่อเรียนทั่วไปเพราะนอกจากจะสอนภาษาแล้วสื่อเหล่านี้ยังนำเสนอวัฒนธรรม เนื้อหาที่สมบูรณ์ และภาษาที่ใช้ได้ในชีวิตจริง
1.4) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการสอน เทคโนโลยีจะช่วยเพิ่ม ความสามารถในการสอนและลดการเป็นศูนย์กลางของตัวครูลง เพราะในชั้นเรียน ที่มีเด็กเป็นจำนวนมากทำให้ครูไม่สามารถโต้ตอบกับทุกคนได้ แต่เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยสร้างการสื่อสารกับผู้เรียนแทน
2. การวิเคราะห์ถึงปัญหาการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียน
2.1) เมื่อตัวหลักถูกแทนที่ด้วยตัวช่วย วัตถุประสงค์หลักของเทคโนโลยี คือการนำมาใช้ช่วยในการสอน แต่หากผู้สอนพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป ก็จะเหมือนกับว่าทั้งผู้สอนและนักเรียนตกเป็นทาสของ คอมพิวเตอร์ ดังนั้น ผู้สอนควรใช้เทคโนโลยีให้น้อยลง แต่ให้ถูกต้องมากขึ้น
2.2) ปัญหาในด้านการสื่อสาร ถึงแม้เทคโนโลยีจะช่วยในการเรียนภาษา แต่มันกลับลดปริมาณการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนลง เนื่องจากถูกแทนที่ด้วยภาพและเสียงของสื่อ ผู้เรียนจึงกลายเป็นเพียงผู้ชมในชั้นเรียนเท่านั้น
2.3) การหดตัวลงของศักยภาพทางการคิดของผู้เรียน เนื่องจากปกติแล้ว การเรียนการสอนภาษาไม่ได้มีการสาธิต และเป็นเพียงแค่การถามตอบระหว่างครูกับผู้เรียน โดยครูจะถามคำถามแล้วในผู้เรียนคิด แต่เมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนไม่ค่อยได้ใช้ทักษะการคิด เราควรจะกระตุ้นให้เด็กคิดมากขึ้น และลดเวลาในการใช้มัลติมีเดียให้น้อยลง
2.4) การคิดนามธรรมถูกแทนที่ด้วยจินตนาการ วัตถุประสงค์หลักในการสอนเพื่อเสริมการคิดเชิงนามธรรมของนักเรียน สื่อช่วยให้การสอนง่ายขึ้น เพราะมันช่วยเปลี่ยนจากจิตนาการเป็นภาพของจริงให้ผู้เรียนได้เห็น แต่สิ่งเหล่านี้กลับทำให้ความคิดเชิงตรรกะ เชิงความคิดของนักเรียนถูกทำลาย ในปัจจุบัน ความสามารถในการอ่านลดลง ตัวอักษรถูกแทนที่ด้วยคีย์บอร์ด เทคโนโลยี การเรียนการสอนแย่ลง อย่างไรก็ตาม สื่อเทคโนโลยีจะไม่สามารถแทนที่ครูและกระบวนการสอนได้
3. ข้อแนะนำและกลยุทธ์จัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น
3.1) การเรียนการสอนในชั้นเรียนไม่ใช่บทบาทของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าสื่อการสอนช่วยให้ครูสอนในชั้นให้ดีขึ้น โดยในขณะที่สอนนั้น ครูจะมีบทบาทหลักที่ไม่สามารถแทนที่ได้ด้วยคอมพิวเตอร์
3.2) จอคอมพิวเตอร์ไม่สามารถแทนที่ด้วยกระดานได้ แม้ว่าจอคอมพิวเตอร์จะสามารถใช้งานแทนกระดานดำได้เป็นอย่างดี แต่ครูควรใช้กระดานดำบ้าง เพราะง่ายต่อการแก้ไข และสามารถตอบสนองได้ทันที
3.3) Power point ไม่สามารถแทนที่การคิด และการฝึกฝนของนักเรียนได้ จะสังเกตได้ว่าปัจจุบัน ห้องเรียนจะนำ Power point ใช้ในการนำเสนองาน ถึงแม้จะมีความสวยงาม แต่ Power point จะลดการคิด และการฝึกฝนของผู้เรียนลง ดังนั้นเราควรที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด และฝึกฝนมากกว่าการนั่งดู Power point
3.4) สื่อและเครื่องมือการสอนแบบเก่าๆนั้นไม่ควรถูกมองข้าม  ครูบางคนพยายามจะแทนที่ทุกอย่างด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆแต่เราควรเข้าใจว่าสื่อบางชนิดไม่สามารถแทนได้ เช่น เครื่องบันทึกเสียง ยังมีบทบาทสำคัญในการสอน  ดังนั้นครูควรจะเลือกสื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและวิธีการสอน
3.5) สื่อเทคโนโลยีไม่ควรถูกใช้มากเกินไป เป็นที่เชื่อกันว่ายิ่งใช้สื่อมากบรรยากาศในห้องยิ่งดีขึ้น  ยิ่งนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากเท่าใดก็จะยิ่งง่ายต่อการรับเนื้อหามากขึ้น  แต่ในความเป็นจริงแล้วสื่อมากเท่าไหร่ ความสนใจเด็กดึงไปที่สื่อมากเท่านั้น เนื้อหาที่เด็กได้รับจึงยิ่งน้อยมากขึ้นเท่านั้น  ดังนั้นควรใช้สื่อให้พอดีไม่มากไม่น้อยเกินไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น